วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดาบสายลม ฟุกุดะ โดย วันวาน review

ดาบ สายลมฟุกุดะหรือในชื่อจริงๆภาษาญี่ปุ่นว่า "GetsuFuumaDen" เป็นเกมแอคชั่นเดินลุยของเครื่องฟามิคอม (NES) ที่สร้างโดยค่ายโคนามิ เรื่องราวของเกมเริ่มจาก กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ได้มีปีศาจมังกรกระดูกลืมตาตื่นขึ้นจากนรกมายังพื้นโลก นักรบตระกูล"ฟูมะ"จึงได้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อรักษาความสงบสุข แต่พี่ชายคนโต 2 คนของตระกูลก็ถูกปีศาจมังกรกระดูกฆ่าตายและยังสูญเสียอาวุธศักดิ์สิทธิ์ "ดาบพลังคลื่น" ไปอีกด้วย น้องชายของตระกูลฟูมะจึงต้องละทิ้งความเศร้าเปลี่ยนเป็นความแค้น ออกเดินทางไปยังเกาะอสูรเพื่อกำจัดปีศาจมังกรกระดูก ช่วงชิงดาบพลังคลื่นกลับมา และปลดปล่อยวิญญานของพี่ชายทั้ง 2 คนให้จงได้
ตัว เกมจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆได้แก่ แผนที่ใหญ่ซึ่งไม่มีการต่อสู้ เพียงแค่เดินหาทางไปต่อ, ส่วนที่ 2 ที่เป็นส่วนหลักของเกมคือการเดินลุยไปด้านข้าง มีการต่อสู้กับศัตรู,สะสมเงินและใช้อุปกรณ์ช่วยได้สารพัด และสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนเสริมของเกมจะออกมาเป็นแบบทางวงกต 3 มิติและมีการต่อสู้ด้วย ช่วยให้เกมมีความหลากหลายอยู่ตลอด
ค่า พลังของตัวเอกฟูมะจะมี 2 อย่างคือพลังชีวิตที่คงไม่ต้องอธิบายอะไร กับพลัง "ดาบ" ซึ่งเหมือนกับเกม RPG เมื่อใช้สู้มากๆจะเพิ่มขึ้นและทำให้โจมตีแรงขึ้น ส่วนวิธีการบังคับหลักๆคือ ปุ่ม A กระโดดและปุ่ม B โจมตี (ในทางวงกตก็เหมือนกัน) ส่วนปุ่ม Start จะเป็นการหยุดเกมซึ่งระหว่างนี้ผู้เล่นสามารถกด B เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทโจมตี และ A เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทป้องกันได้
       
       ส่วน หลักๆของเกมที่เป็นการเดินลุยไปด้านข้างจะมีอุปกรณ์ช่วยเหลือมากมาย อย่างกลองที่ใช้ยิงอักษร "พลัง" โจมตีศัตรูไกลๆได้, ดาบศิลาที่ใช้ฟันหินเปิดทาง, ลูกข่างทำให้กระโดดหมุนตัวโจมตีได้ หรือยาฟื้นพลัง ส่วนในทางวงกต 3 มิติก็จะมีอุปกรณ์เฉพาะ อย่างเทียนไขทำให้มองเห็นทาง และเข็มทิศที่จะบอกทิศเป็นอักษรญี่ปุ่นทางขวาบนสุดของจอ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่หาซื้อได้ตามร้านที่มีอยู่บนแผนที่หลักหรือบาง อันจะเก็บได้ตามฉากเดินลุย

 บน แผนที่หลักของเกมจะมีสถานที่ต่างๆกันไปทั้งที่จะพาไปสู่ฉากเดินลุยด้านข้าง, ผู้คนที่จะบอกใบ้เรื่องราวต่างๆ, ร้านขายของ และในบางจุดบนแผนที่หลักจะมีความซับซ้อนและมีศัตรูเดินไปมาซึ่งถ้าสัมผัสถูก จะตัดเข้าสู่จากเดินลุยด้านข้างแบบสั้นๆ แม้การเดินบนแผนที่จะเป็นเส้นทางชัดเจนแต่ก็ยากจะบอกได้ว่าทางไหนไปเจออะไร จึงต้องอาศัยเบาะแสจากผู้คนที่พบระหว่างทาง
       
       จุด มุ่งหมายหลักๆของเกมคือการตามหาดาบพลังคลื่นทั้ง 3 เล่มให้ครบและเปิดทางเข้าสู่ที่อยู่ของปีศาจมังกรกระดูก เริ่มจากการหาไอเทมป้ายผ่านทางเพื่อข้ามไปมาระหว่างเกาะ ตามด้วยการลงทางวงกต 3 มิติซึ่งสุดปลายทางจะมีศัตรูระดับบอสรออยู่ เมื่อกำจัดได้ก็จะได้ดาบพลังคลื่นคืนมาทีละเล่ม จนเมื่อครบ 3 เล่มผู้เล่นจะสามารถใช้ดาบพลังคลื่นปล่อยพลังทำลายมหาศาลได้ และยังเปิดทางไปสู่เกาะสุดท้ายอีกด้วย ทั้งหมดนี้มีความซับซ้อนค่อนข้างสูง การจะไปยังจุดต่างๆต้องผ่านด่านเล็กๆแบบเดินลุยด้านข้างอยู่ตลอด ถ้าไปผิดทางก็อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะย้อนไปมาได้ และในบางด่านศัตรูก็โหดจนผู้เล่นแทบไม่อยากเดินผ่านอีกเลย

 ด้าน การต่อสู้ ฉากแบบลุยด้านข้างศัตรูจะมีความหลากหลายมาก และค่อนข้างยากพอสมควรถ้าพลังโจมตีเรายังอ่อนอยู่ เพราะศัตรูส่วนใหญ่มาแบบวิ่งเข้าชนอย่างเร็วไม่ก็ปล่อยอาวุธบินสารพัด การที่ต้องโจมตีหลายทีจึงเสี่ยงต่อการเจ็บตัวมาก ส่วนตัวฉากเองไม่ค่อยมีลูกเล่นหรือพื้นที่กระโดดยากๆนัก ที่อันตรายก็คือการถูกศัตรูดักอัดจนตกเหวมากกว่า
       สำหรับ การลงทางวงกต ปัญหาส่วนใหญ่คือไม่มีแผนที่ ฉากค่อนข้างซับซ้อนและเหมือนกันไปหมดแทบไม่มีจุดสังเกตอะไรเลย ระหว่างทางยังมีศัตรูค่อนข้างชุมและหลบหนีไม่ได้ และมีความลับซ่อนอยู่ อย่างยาเติมพลังหรือโบนัสสเตจ ส่วนการต่อสู้ศัตรูจะมีอยู่ไม่กี่ชนิด ถ้าจับหลักการเคลื่อนที่ได้ก็ไม่ยาก แต่เวลาโดนอัดก็หนักใช่เล่นเหมือนกัน แถมการฟื้นพลังยังหาได้ไม่สะดวกเหมือนฉากลุยด้านข้างอีกด้วย
       
       ความ ยากของเกมจัดว่าสูงในช่วงแรกๆ การโจมตีศัตรูไม่ตายใน 1-2 ครั้งอาจทำให้ผู้เล่นเสียพลังบ่อยๆ แต่ถ้าพอตั้งตัวได้จะเริ่มง่ายขึ้น หากพลาดตายไปจะกลับไปเริ่มที่ต้นฉากนั้นได้ แต่ถ้าจำนวนชีวิตหมดจะให้เลือกระหว่างคอนทินิวที่จะไปเริ่มใหม่บนแผนที่ (อย่างฉากทางวงกตต้องย้อนไปเดินใหม่ทั้งหมด) หรือถ้าไม่เล่นต่อก็จะเป็นหน้าจอบอกพาสเวิร์ดที่สามารถนำมาใส่เพื่อเล่นต่อ ในวันหลังได้     
       กราฟิก ของเกมนี้จัดว่าใช้ได้ การออกแบบศัตรูแต่ละตัวมีความโดดเด่นตามสไตล์ญี่ปุ่นโบราณและมีการเคลื่อน ไหวที่ชัดเจน ส่วนฉากก็ไม่ซ้ำซากมีการเปลี่ยนรูปแบบกราฟิกตามสถานที่ ไปตลอดช่วยให้ไม่รู้สึกว่าอยู่ที่เดิม ด้านดนตรีก็โดดเด่น มีเพลงหลักบนแผนที่ซึ่งทุกคนที่เคยเล่นต้องจำได้ ส่วนเพลงอื่นๆก็ทำได้ดี   
       สำหรับ เกมนี้ไม่เคยมีการสร้างฉบับภาษาอังกฤษออกมาอย่างเป็นทางการ และที่น่าแปลกกว่านั้นคือไม่มีการทำภาคต่อออกมาอีกด้วย ส่วนถ้าใครติดใจเกมนี้ก็ยังมีเกม "โคนามิเวิร์ล" (Konami Wai Wai World) ทั้ง 2 ภาคที่มีตัวละครของฟูมะไปเป็นแขกรับเชิญให้ได้เล่นกัน  
       นอก จากนี้ ทางฝั่งญี่ปุ่นเองเมื่อเกมออกใหม่ๆ ก็เป็นที่ถกเถียงกันหนาหูว่าเกมนี้ไปคล้ายกับเกมแอคชั่นเดินลุยของแนมโคที่ ออกมาก่อนหน้าชื่อว่า Genpeitoumaden ซึ่งมีเรื่องราว,ตัวเอก,ศัตรู รวมถึงการออกแบบสิ่งต่างๆใกล้เคียงเหลือเกิน 

  "ฟุ กุดะ" หรือ GetsuFuumaDen จัดได้ว่าเป็นเกมเดินลุยที่สนุกและมีลูกเล่นครบเครื่อง แม้จะผ่านไปเกือบ 20 ปีแล้วแต่แฟนเกมญี่ปุ่นก็ยังไม่ลืมดังจะเห็นได้จากปริมาณเว็บไซต์ที่พูดถึง และอุทิศให้กับเกมนี้ ส่วนทางด้านแฟนชาวไทยเองในวงสนทนาถึงเกมฮิตสมัยเครื่องฟามิคอมก็จะมีเกมนี้ อยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นก็ได้แต่หวังว่าโคนามิจะเปลี่ยนใจทำภาคต่อของเกมนี้ออกมาซะที 

  

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

นินจาเต่า Gekikame ninja den โดย วันวาน review

วาวจำหน่ายเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1989 ค่ายเกมส์ โคนามิ ประเภท ACTION เล่นคนเดียว ลีโอนาร์โด หัวหน้ากลุ่มนินจาเต่านิสัยรอบคอบและเยือกเย็นสมกับเป็นหัวหน้ากลุ่มใช้ดาบคู่เป็นอาวุธ โดยที่ชื่อของลีโอนาร์โดนั้นมาจาก ลีโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรชื่อก้องโลกชาวอิตาลี ขอบเขตการโจมตีของของลีโอนาร์โดนั้นค่อนข้างรอบตัวและระยะการโจมตีปานกลางทำให้เหมาะกับการใช้ทุกสถาณการณ์ ราฟาเอล ตัวบุกประจำทีมนิสัยกล้าหาญไม่กลัวใคร ในขณะเดียวก็เป็นคนที่ใจร้อนและวู่วามมากที่สุดในกลุ่มด้วยเช่นกันจนทำให้ต้อทะเลาะกับหัวหน้ากลุ่มอย่างลีโอนาร์โดอยู่บ่อยๆ โดยชื่อราฟาเอลนั้นตั้งมาจากราฟาเอล ซันซิโอ ซึ่งเป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ขอบเขตการโจมตีของของราฟาเอลนั้นจัดว่าแคบที่สุดในกลุ่มทำให้ค่อนข้างใช้ยาก อย่างไรก็ตามการออกอาวุธเร็วทำให้พอจะชดเชยข้อเสียของราฟาเอลได้บ้างเหมาะสำหรับผู้เล่นที่เก่งแล้วครับ ไมเคิลแองเจโล ตัวโจ๊กประจำทีมนิสัยขี้เล่นและรักสนุกแถมยังติดพิซซ่าเอามากๆจนถูกสปรินเตอร์ผู้เป็นอาจารย์ดุเอาบ่อยๆ โดยชื่อไมเคิลแองเจโลเอามาจากมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตีจิตรกรชื่อดังชาวอิตาลี ขอบเขตการโจมตีของของไมเคิลแองเจโลนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับลีโอนาร์โดแต่จะเร็วกว่าเล็กน้อยทำให้เหมาะแก่การใช้เช่นเดียวกับเลโอนาโด้ โดนาเทลโล มันสมองประจำทีมฉลาดที่สุดในทีมและเป็นคนที่คิดค้นเครื่องมือต่างๆขึ้นมาเสมอ โดยชื่อโดนาเทลโลเอามาจากโดนาโต ดิ นิโคโล ดิ เบตโต บาร์ดิ ขอบเขตการโจมตีของของโดนาเทลโลแคบแต่ก็ไกลที่สุดเช่นกันและยังเป็นคนที่มีพลังโจมตีดีที่สุดในทีมอีกด้วยทำให้เหมาะสำหรับการจัดการกับบอส แต่ก็มีจุดอ่อนเช่นกันคือการออกอาวุธของดอนนาเทโลนั้นช้าที่สุดในกลุ่มทำให้เมื่อออกอาวุธไปแล้วจะโดนโต้กลับได้ง่ายต้องระวังข้อนี้ด้วย

ป้ายกำกับ:

ปรานีจิตใจคนดูน่ะทำเป็นบ้างมั้ย


ep 9 ว่าทำร้ายจิตใจแล้วนะ เจอ ep 10 จบแบบนี้มึงเอามีดมาแทงกูเถอะ ปรานีจิตใจคนดูน่ะทำเป็นบ้าง
 มั้ย

ป้ายกำกับ:

เปาเปา ผีกัดอย่ากัดตอบ โดย วันวาน review

ถ้า พูดถึงผีดิบใส่ชุดจีนกระโดด 2 ขา หลายคนอาจนึกถึงตัวละครในเกมอย่างน้องมูนักจากแร็คนาร็อคออนไลน์ แต่สาเหตุที่ตัวละครนี้เป็นที่นิยมและถูกเอาไปใช้อย่างแพร่หลายจนถึงทุก วันนี้ มาจากหนังจีนยอดฮิตในอดีตเรื่องหนึ่งที่เคยถูกสร้างเป็นวีดีโอเกมมาแล้ว
       
       เกม ปราบผีบนเครื่องฟามิคอมที่ชาวไทยยุคนั้นเรียกกันว่า "เปาเปา" มีชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า "Reigen Doushi" เป็นผลงานของบริษัท Pony Canyon ซึ่งสร้างโดยใช้ต้นฉบับจากหนังจีนยอดฮิตสมัยก่อนเรื่อง "ผีกัดอย่ากัดตอบ" (Mr. Vampire) ที่น่าจะเคยผ่านตาคอเกมอายุ(เกิน) 20 ปีมาบ้าง โดยหนังเรื่องนี้มีภาคต่อออกมาหลายตอน แถมยังได้สร้างกระแสนิยมของตัวละคร "ผีดิบ" หรือ "ผีกัด" ใส่ชุดขุนนางจีนยกสองแขนกระโดดดึ๋งๆไปมา จนถูกนำไปใช้ในหนังและวีดีโอเกมอื่นๆอีกมากมาย

สำหรับ เกม Reigen Doushi นี้จะเป็นเรื่องราวของอาจารย์หมอผี (ให้เราตั้งชื่อเอง) เดินทางร่วมกับลูกศิษย์ไปตามหมู่บ้านต่างๆเพื่อปราบปีศาจร้ายที่มารุกราน ผู้เล่นจะได้บังคับตัวอาจารย์ต่อสู้กับผีดิบแบบตัวต่อตัวด้วยวิชากังฟูเป็น ด่านๆไป โดยในยุคนั้นเคยมีคู่มือเฉลยเกมออกมาขายในเมืองไทยด้วย
       
       วิธี บังคับจะใช้ปุ่มซ้ายขวาเดิน ปุ่มบนกระโดด ปุ่มล่างนั่ง ปุ่ม A เตะ และ B ต่อย ซึ่งตอนแรกจะท่าต่างๆจะดูธรรมดา แต่ภายหลังจะมีท่าใหม่เพิ่มขึ้นมา อย่างเช่นต่อยรัว,หมุนตัวเตะ,กระโดดตีลังกา,เดินเร็ว โดยสามารถเรียนท่าเพิ่มด้วยการไปที่ "โรงฝึก" ในแต่ละหมู่บ้านแล้วใช้ไอเทม "ตำรา" เข้าแลก ซึ่งจะได้จากการช่วยเหลือชาวบ้านกำจัดผีดิบที่มารุกราน
       
       สำหรับ ฝ่ายศัตรู ส่วนใหญ่จะเป็นผีดิบหน้าตาแนวเดียวกัน แต่มีทั้งแบบเตี้ย,สูง,อ้วน,ผอมแตกต่างกันไป รวมถึงรูปแบบการสู้ก็จะต่างไปด้วย อย่างบางตัวจะแขนยาว,กระโดดไกล หรือไม่ก็ตัวหนาซะจนอัดแทบไม่ล้ม นอกจากนี้ เกมยังมีศัตรูรูปแบบอื่นๆอย่าง ผีถือขวาน,วิญญานลอยไปมา และบางตัวจะมีลูกเล่นพิเศษอย่างถอดหัวมาโจมตี,ยิงลูกไฟได้อีกด้วย


ใน หมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีสถานที่ให้เข้าไปได้หลายจุดโดยสามารถกด Aหรือ B เพื่อตรวจสอบก่อนเข้าไปได้ ซึ่งหลักๆจะมีวัดที่สามารถใช้เป็นที่พักเติมพลังและโรงฝึกที่จะมีท่าพิเศษ ใหม่ๆให้เรียน ส่วนที่เหลือจะเป็นบ้านคน,สุสานหรือตึกร้างที่ถูกผีดิบรุกราน และท้ายหมู่บ้านจะเป็นที่อยู่ของศัตรูระดับบอสซึ่งต้องกำจัดเพื่อผ่านฉาก
       
       การ จะเข้าสู่ที่อยู่ของบอส ผู้เล่นต้องรวบรวมลูกแก้ววิเศษ 3 ลูกจากส่วนต่างๆของหมู่บ้านที่ถูกรุกราน โดยจุดที่มีลูกแก้วเมื่อกด A หรือ B ตรงหน้าประตูจะมีข้อความบอกว่า "เป็นสถานที่ที่มีกลิ่นอันตราย" (ดังรูป) ส่วนจุดอื่นในหมู่บ้านที่ถูกรุกรานก็จะให้ไอเทมตำรานำไปแลกกับท่าพิเศษที่ โรงฝึกได้
       
       นอก จากวิชากังฟูแล้ว ตัวอาจารย์สามารถใช้ไอเทมพิเศษได้ด้วยการเดินย้อนกลับไปหาลูกศิษย์ที่ประตู อย่างยันต์แปะหน้าผากที่ทำให้ผีดิบอยู่นิ่งได้ชั่วคราว (ถ้าใครเคยดูหนังคงรู้จักกันดี) กระจกวิเศษที่ทำให้ผีดิบล้มลงได้ หรือดาบศักดิ์สิทธิ์ที่โจมตีได้ไกลแต่ถ้าใช้มากจะหัก และที่สำคัญอีกชิ้นคือกระดิ่งที่ใช้ควบคุมเจ้าผีดิบตัวน้อยได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือในหมู่บ้านบางแห่งจะมีดวงไฟวิญญานมาลักพาตัวลูก ศิษย์ของเราไป ซึ่งทำให้เราใช้ไอเทมไม่ได้จนกว่าจะตามไปช่วยกลับมา

แม้ ดูผ่านๆศัตรูในเกมจะเหมือนกับซ้ำซาก แต่การต่อสู้ก็มีความสนุกท้าทายอยู่ตลอด อย่างผีดิบตัวจิ๋วที่เตะต่อยโดนได้ยากแถมยังไวอีกต่างหาก หรือผีดิบแขนยาวที่ต้องคอยหลบเล็บกรงให้ดี ยิ่งศัตรูระดับบอสจะโจมตีหนักขนาดอัดเราตายได้ใน 3-4 ครั้งเลยทีเดียว ทำให้เกมยากพอสมควร
       
       นอก จากนี้ เกมยังมีลูกเล่นให้บริหารสมองกันเล็กน้อย โดยเมื่อเข้าโรงฝึกจะต้องตอบคำถามความรู้รอบตัวก่อนทุกครั้ง อย่างเช่น "จักรพรรดิองค์สุดท้ายชื่อว่าอะไร","ของกินที่ผีดิบเกลียดที่สุดคืออะไร", "สิ่งใดที่ขาดไม่ได้ในการปราบผีดิบ" ซึ่งถ้าตอบผิดก็จะโดนไล่ออกมา แต่ก็เข้าไปตอบใหม่ได้เรื่อยๆ

 Reigen Doushi /Phantom Fighter
       เครื่อง: ฟามิคอม /NES
       ภาษา: ญี่ปุ่น 1988 /อังกฤษ 1990
       บริษัท: Pony Canyon /FCI Inc.
       แนวเกม: Action
       จำนวนผู้เล่น: 1 คน
 





  

ป้ายกำกับ:

ประวัติ Famicom

ประวัติ Famicom

เจ้าเครื่อง Famicom นี้ เริ่มวางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฏาคม ปี 1983 โดยราคาเริ่มต้นในสมัยนั้นอยุ่ที่ 14,800 เย ออกแบบระบบโดยนาย Masayuki Uemura เปิดตัวพร้อมกับ 3 เกม Arcade ดังของ Nintendo คือ  Donkey Kong, Donkey Kong Junior และ Popeye ซึ่ง หลังจากวางจำหน่ายไม่ทันไร ก็เกิดปัญหาจนต้องเรียกสินค้ากลับเพื่อนำไปเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ หลังจากนำกลับมาจำหน่ายอีกครั้ง Famicom ก็เป็นเครื่องเกมที่ขายดีที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปลายปี 1984 เป็นต้นมา โดยยอดขายเมื่อปลายปี 1984 นั้นสูงถึง 2.5 ล้านเครื่องเลยทีเดียว

และ จากการที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ Nintendo ได้มองถึงการขยายตลาดไปที่อเมริกาเหนือ โดยทำการเจรจาธุรกิจกับทาง Atari แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ล้มเลิกไป เนื่องจากปัญหาต่างๆ ทำให้ Nintendo ต้องลงมือเอง จนพัฒนาเครื่อง Famicom ใหม่สำหรับวางจำหน่ายในอเมริกาเรียกว่า "Nintendo Advanced Video System" หรือ AVS ซึ่งมีรูปร่างละม้ายคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำมาแสดงในงาน Consumer Electronics Show ปี 1984 ใน แพคเกจมี keyboard, cassette data recorder แต่ก็ขายไม่ดีนัก เพราะระบบ Wireless ที่ไม่มีคุณภาพ วัสดุที่ใช้ก็เกรดต่ำกว่ามาตรฐานของทางอเมริกา เครื่อง AVS จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่เจ๊งไป สำหรับ Nintendo
ในเดือนมิถุนายน ปี 1985 Nintendo ได้กลับมายังงาน Consumer Electronics Show อีกครั้งและนำเสนอเครื่อง "Nintendo Entertainment System" หรือ NES เป็นการนำเครื่อง Famicom มาปรับปรุงใหม่ และเริ่มวางจำหน่ายเฉพาะที่นิวยอร์ก ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 1985

 ซึ่งจนถึงเดือนธันวาคมปี 1985 ก็มีเกมออกมาให้เล่นกันถึง 18 เกม คือ 10-Yard Fight, Baseball, Clu Clu Land, Donkey Kong Jr. Math, Excitebike, Duck Hunt, Golf, Gyromite, Hogan’s Alley, Ice Climber, Kung Fu, Mach Rider, Pinball, Soccer, Stack-Up, Tennis, Wild Gunman, Wrecking Crew และหนึ่งในบรรดาเกมที่ฮิตติดตลาดตลอดกาลของ Nintendo ก็คือ Super Mario Bros นั่นเองครับ


โดย NES ใช้ CPU 6502, RAM ใน CPU 2KB และ PPU อีก 2KB (สำหรับบางเกมที่เซฟได้ จะมี RAM แฝงอยู่ในตลับเกมด้วย) ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 256 x 240 pixel

ในปี 1986 Nintendo ได้ขยายตลาดออกไปเปิดสาขาใหม่ที่แคนาดา และทางแถบยุโรป ถึงแม้ว่าพวกฝรั่งจะไม่ค่อยให้ความสนใจกันมากนัก แต่อาศัยที่ตลาดกว้างขวางกว่า และด้วยความมุทะลุของทาง Nintendo ทำให้ เครื่องเกม NES ในปี 1987 ทำ กำไรให้ Nintendo ยิ่งกว่า Famicom ในญี่ปุ่นเสียอีก ซึ่งหลังจากนั้น ก็มีเกมต่างๆ ทั้งสำหรับ Famicom และ NES ออกมาให้เล่นมากมาย เรียกได้ว่า เกมออกเกือบเป็นรายอาทิตย์เลยทีเดียว



ช่วงปลายปี 1994 ตลาด เกมเครื่อง Famicom เริ่มแผ่วลง เนื่องจากคู่แข่งสำคัญอย่าง SEGA เริ่มเข้ามาแย่งตลาด แถมยังมีคู่แข่งเก่าอย่าง Atari รวมไปถึงทาง Nintendo เองก็มุ่งความสนใจไปที่ Super Famicom ของตัวเองมากกว่า จนสุดท้ายก็เลิกทำการผลิตเครื่อง Famicom ไปในเดือนมกราคมปี 1995 สรุปยอดขายรวมทั้งสิ้น 61.91 ล้านเครื่อง โดยเกมสุดท้ายของเครื่อง Famicom ก็คือWario's Woods ซึ่งวางขายในวันที่ 1 ธันวาคม ปี 1994 แต่ว่ากันตามตรงแล้ว เกมที่เป็นเกมสุดท้ายจริงๆ ของเครื่อง Famicom ก็คือSunday Funday ที่วางจำหน่ายในปี 1995 เพียงแต่ไม่ใช่เกมที่ทำลิขสิทธิ์กับทาง Nintendo

ป้ายกำกับ:

The Witcher 3 มันคือสุดยอดเกมแห่งปี อย่างงั้นจริงหรือ

The Witcher 3 มันคือสุดยอดเกมแห่งปี อย่างงั้นจริงหรือ


ว่า กันว่าหากเราคาดหวังอะไรมากเกินไปมักจะผิดหวัง แต่คำนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับ The Witcher 3 เกม RPG ที่ทุกคนรอคอย และทางทีมงานแบไต๋หลังจากได้มาขอรีวิวสั้นๆให้อ่านกันก่อนเนื่องด้วยเกมมี ความยาวมากมายมหาศาลจึงของนำความดีงามมาเล่าเป็นมินิรีวิวอ่านยั่วน้ำลายกัน ก่อน
ใน ส่วนของ กราฟิก The Witcher 3 รู้กันว่าถูกสร้างมาสำหรับเครื่องเกมรุ่นใหม่ทั้ง PS4 Xboxone ส่วน PC ก็ต้องสเปกแรง  ทำให้ภาพในเกมถูกสร้างมาอย่างทรงพลัง และแน่นหน้าไปด้วยภูมิประเทศที่หลากหลาย มีต้นไม้ใบหญ้านับล้านต้น เรียกว่าทำเอาเกมโลกอิสระเกมอื่นดูกระจอกไปเลย แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีอาการแฟรมเรตตก ภาพกระตุกอยู่ (เล่นบน PS4) แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังดูดีเกินมาตรฐาน
 รูปแบบการเล่นเป็นโลกอิสระผสมกับ RPG แบบที่เราได้ลุยเดี่ยวไปในโลกกว้างและกว้างมากเสียจนแทบจะไม่มีจุดสิ้นสุด แถมยังสำรวจได้แทบทุกที่ไม่ว่าเป็นบนบกหรือในน้ำ แอ็คชั่นในเกมที่ดูผ่านๆอาจจะเรียบง่ายแต่ก็มากด้วยรายละเอียด ผสมกับพลังเวทที่ทุกอย่างล้วนมีความสำคัญต่อการเล่น เพราะเกมไม่ง่ายเราจำเป็นต้องใช้ทุกอย่างที่มีในการต่อสู้กับปีศาจร้าย จากนรก การอัพเกรดตั้งค่าตัวละครก็ทำได้หลากหลาย แถมยังละเอียดยิบแต่ก็ไม่ยุ่งยาก ส่วนการดำเนินเนื้อเรื่องยังคงใช้รูปแบบหลักของ RPG จากตะวันตกที่เปิดโอกาสให้เราเลือกตอบคำถามและการกระทำที่ส่งผลกับเนื้อ เรื่องได้

 เอา เข้าจริงๆหลังจากเล่น The Witcher 3 มาได้พักใหญ่มันคือความยิ่งใหญ่ของเกมยุคใหม่อย่างแท้จริง แม้จะมีบางจุดในเกมที่ยังติดขัดอยู่บ้าง แต่เชื่อเหลือเกินว่าความยอดเยี่ยมของโลกที่ยิ่งใหญ่จะทำให้คุณหลงไปในโลก แฟนตาซี ที่ทั้งสนุกและมีอะไรให้สำรวจกันได้ยันลูกบวชกันเลย แต่สำหรับผู้ที่อายุไม่ถึง 18 อาจจะไม่เหมาะกับเกมนี้นัก เพราะเกมมีทั้งความรุนแรง ภาพน่ากลัว และฉากเปลือย สรุปตอนนี้ห้ามพลาดเด็ดขาดรับประกันว่าปลายปีนี้ต้องมีชื่อ The Witcher 3 อยู่ในรายชื่อเกมแห่งปีแน่

บทความจาก
http://www.beartai.com/


 

ป้ายกำกับ:

จะไม่มีอีกแล้วหรือ

จะไม่มีอีกแล้วหรือ คงได้เล่นแต่ เดโม กันละสินะ




ป้ายกำกับ: